บทความรู้

รู้จักพลาสติกชีวภาพ “PLA”  ถ้าเจอแล้ว ต้องทิ้งให้ลงถังทุกครั้งนะ! 

พลาสติกชีวภาพ.jpg

หลายคนอาจคุ้นเคยกับประเภทพลาสติกที่พบกันบ่อยๆ เช่น PP, PE แต่ในต่างประเทศ พลาสติกอีกประเภทหนึ่งที่พบได้บ่อยเช่นกัน ก็คือ PLA ซึ่งมาจากคำว่า “Polylactic acid”

ถ้าอธิบายง่ายๆ PLA จัดเป็นพลาสติกชีวภาพ(Bioplastic) ที่ใช้ความหวานของข้าวโพดในการทำ พูดอีกอย่างคือ PLA เป็นพลาสติกที่ทำมาจากพืชนั่นเอง แต่ทว่าก็มักมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับพลาสติกประเภทนี้ว่า ในเมื่อมันทำมาจากพืช ฉะนั้นเมื่อทิ้งไว้มันก็น่าจะย่อยสลายและกลายเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติได้เองซิ?

แต่ความเป็นจริง ไม่ใช่แบบนั้นเลย เพราะพลาสติก PLA ไม่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ แต่จำเป็นต้องพึ่งกระบวนการหมักในโรงหมักปุ๋ยอุตสาหกรรม (Industrial Compost Facility) ที่ควบคุมระบบและกระบวนการแปลงสภาพขยะอินทรีย์มาเป็นปุ๋ยเป็นอย่างดี เช่น การคุมอุณหภูมิ ความชื้น ระดับออกซิเจน ความพรุนในกอง และค่าสัดส่วนคาร์บอนและไนโตรเจน ในเป็นไปตามมาตรฐานคงที่ มิเช่นนั้นแล้ว เศษอาหาร หรือบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ก็จะไม่สามารถกลายเป็นปุ๋ยได้เลย 

พูดอีกอย่างคือ แม้จะเป็นพลาสติกที่ทำจากพืชก็จริง แต่การจะทำให้มันหายไปจากโลกนี้ต้องพึ่งพากระบวนการกำจัดขยะตามโรงงาน นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ในต่างประเทศที่มีการใช้พลาสติก PLA จะต้องเขียนเงื่อนไขเรื่องการกำจัดไว้บนบรรจุภัณฑ์ นั่นก็เพื่อสื่อสารให้ผู้บริโภคเข้าใจว่า พลาสติกนี้ต้องทิ้งให้ถูกที่นะ เพราะถ้ามันไม่ได้ถูกนำไปกำจัดอย่างถูกที่ มันก็จะไม่ต่างอะไรกับพลาสติกทั่วไปเลย ที่ใช้เวลามากโขในการย่อยสลายไปจากโลกนี้

ฉะนั้นแล้ว ถ้าวันหนึ่งคุณบังเอิญได้หยิบใช้พลาสติก PLA ขึ้นมา สิ่งที่คุณต้องมองหาหลังใช้มันเสร็จ ก็คือถังขยะ เพราะไม่งั้นคุณกำลังสร้างขยะทิ้งไว้ให้โลกอีกหลายร้อยปีเลย

อ้างอิง

http://www.sustainableokc.org/compostable-cornplastic-yes-and-no/